วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมาธิ (ศาสนาพุทธ)


                     สมาธิ ในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต แต่สมาธิในความหมายของการฝึกปฏิบัติ คือการทำใจให้นิ่ง ซึ่งต่างจากร่างกายที่ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งแข็งแรง แต่จิตใจนั้นตรงกันข้าม คือจิตใจหวั่นไหวย่อมอ่อนแอ แต่หากหยุดนิ่งเฉยได้แล้วจะยิ่งมีพลัง เหมือนการรวมโฟกัสของแสงให้เป็นจุดเดียวกัน ย่อมมีพลังที่จะจุดไฟให้ติดได้

ระดับของสมาธิในพุทธศาสนา
  1. ขณิกสมาธิ สมาธิค่อยๆ เล็กน้อย ที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่นใช้อ่านหนังสือ หรือขับรถ
  2. อุปจารสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่มากกว่าขณิกสมาธิ แต่แน่วแน่น้อยกว่าอัปปนาสมาธิ
  3. อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

การทำสมาธิในพุทธศาสนา

การทำสมาธิ ตามหลักของพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ได้แสดงพระธรรมเทศนาไว้ถึง 40 วิธี ทุกวิธีล้วนเป็นไปเพื่อจุดหมายเดียว คือการทำให้จิตใจสงบแต่ที่วิธีการมีเยอะนั้น ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า สมถกรรมฐาน เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นฐานนิสัยของแต่ละคน โดยพระพุทธองค์ทรงแบ่งพื้นฐานนิสัยไว้ 6 ประเภท เรียกว่า จริต 6 อาทิเช่น คนที่มีราคะจริต คือหลงไหลในของสวยงามง่าย ควรพิจารณาความไม่งาม (อสุภะ) ความไม่เที่ยง- ความไม่แน่นอนในสังขารต่างๆ (อนิจจัง) เพื่อให้ใจไม่ติดในราคะได้ง่ายจะได้ทำสมาธิได้ง่าย เพราะเมื่อหลับตาทำสมาธิแล้ว ใจเราชอบอะไร คุ้นอะไร ก็จะมีภาพนั้นปรากฏขึ้นมาในใจ

อ่านต่อเพิ่มเติม
อานิสงค์การทําบุญทุกชนิด


บุญกิริยาวัตถุ

บุญกิริยาวัตถุ แปลว่าหลักแห่งการบำเพ็ญบุญ หรือหลักแห่งการทำบุญ บุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี 3 อย่าง คือ
1.ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน
2.ศีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล
3.ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา

หมายความว่า วิธี หรือหลักแห่งการทำบุญในพระพุทธศาสนา เมื่อพูดโดยย่อแล้วก็มีเพียง 3 อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา แต่ถ้าขยายความให้กว้างออกไป บุญกิริยาวัตถุมี 10 ประการ คือ

1.ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน
2.ศีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล
3.ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา
4.อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
5.ไวยยาวัจจมัย บุญเกิดจากการขวนขวายในกิจที่ชอบ
6.ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ
7.ปัตตานุโมทนามัย บุญเกิดจากการอนุโมทนาส่วนบุญ
8.ธัมมัสสวนมัย บุญเกิดจากการฟังธรรม
9.ธัมมเทสนามัย บุญเกิดจากการแสดงธรรม
10.ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง การปรับปรุงความคิดเห็นให้ถูก

อ่านต่อเพิ่มเติม